6 เทคนิค ฝึกฝนทักษะต่างๆ ด้วยวิธี “Deliberate Practice”

15744

ในโลกของเรามีข้อแนะนำในการฝึกฝนทักษะต่างๆ ได้มากมายหลายวิธี โดยบางอย่างถ้าไม่มีการศึกษามารองรับก็อาจพาคุณไปผิดทางได้ อย่างเช่น แนวคิดที่ Malcolm Gladwell เขียนลงในหนังสือ Outliers ของเขา ที่ว่าการฝึกซ้อมเป็นเวลา 10,000 ชั่วโมง หรือ กฎ 10,000 ชั่วโมงนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาทักษะ หรือบทความอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีงานวิจัยใดมารองรับนั่นเอง

แต่ถ้าหากคุณต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกฝันทักษะที่น่าเชื่อถือกว่านี้ล่ะก็ ลองมาดูวิธีของ Anders Ericsson ผู้เขียนหนังสือ Peak: Secrets from the New Science of Expertise ผู้ซึ่งได้ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ Deliberate practice หรือการฝึกฝนด้วยความมุ่งมั่นและรอบคอบ นั่นเอง

และนี่ก็คือ 6 หลักปฏิบัติของการฝึกฝนแบบ Deliberate Practice เพื่อให้การฝึกฝนทักษะในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง

คุณต้องมีเป้าหมายในเรื่องที่อยากทำ ไม่เช่นนั้นคุณจะรู้ว่าตัวเองบรรลุผลแล้วได้อย่างไรล่ะจริงไหม? ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนคาราเต้จนคล่องแคล่ว หรือฝึกเล่นเพลงหนึ่งเพลงได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด หรือไม่ก็สิ่งใดก็ได้ที่คุณอยากพัฒนา ขอเพียงมีเป้าหมายที่ชัดเจนและต้องอาศัยศักยภาพสูงกว่าในปัจจุบัน

2. แบ่งสิ่งที่ต้องทำเป็นสัดส่วน และวางแผนการฝึกฝน

ทักษะบางอย่างอาจดูไม่มีอะไรซับซ้อน แต่มันมักมาจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน โดยคุณต้องแยกมันออกเป็นส่วนๆ จากนั้นให้วางแผนว่าจะฝึกแต่ละส่วนเมื่อไหร่และนานแค่ไหน

3. ใส่ใจทุกส่วนของการฝึกฝนอย่างเต็มที่

การฝึกซ้อมแบบขอไปที จะไม่ช่วยให้คุณพัฒนาในด้านไหนได้เลย คุณต้องมุ่งเน้นในทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยในตอนแรก ให้ฝึกฝนอย่างช้า ๆ ไปแต่ละส่วนจนเชี่ยวชาญ จากนั้นจึงนำสิ่งที่คุณได้ฝึกทั้งหมดมารวบรวมเป็นหนึ่งเดียว

4. รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้รู้

ไม่มีใครฝึกฝนทักษะได้ด้วยตนเองทั้งหมด คุณจะไม่มีทางเป็นนักเทควันโด้สายดำได้เลยหากไม่มีอาจารย์ที่ช่วยแก้ท่าเตะต่อยให้ถูกวิธี ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมองเห็นข้อผิดพลาดของคุณและช่วยแก้ไขปัญหาให้ได้ เพราะการฝึกผิดวิธีจะทำให้คุณไม่ก้าวไปไหนสักที ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ คุณต้องผ่านการฝึกฝนอย่างถูกวิธีก่อนให้ได้

5. ออกจาก Comfort Zone ของคุณ

ไม่มีใครสามารถฝึกฝนจนสำเร็จผลได้หากไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอยู่แล้ว จงก้าวไปให้ไกลกว่าสิ่งที่คุณเป็นตอนนี้ ขยายขีดความสามารถของคุณออกไป และจงศึกษาสิ่งที่ซับซ้อนและยากกว่าเคยศึกษามาให้ได้ แต่ก็ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังด้วยล่ะ เพราะจะได้ไม่เสียกำลังใจมากเกินไปหากเกิดการพลั้งพลาดในสิ่งที่ทุ่มเทมา

6. รักษาแรงจูงใจของคุณ

แรงจูงใจ คือ เชื้อเพลิงแห่งการเรียนรู้ ทั้งยังช่วยรักษาแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ ด้วย การรักษาแรงจูงใจของคุณนั้นจะต้องมีปัจจัย 3 ประการด้วยกัน นั่นคือ ปัจจัยด้านอารมณ์ ด้านเหตุผล และ ด้านสิ่งแวดล้อม นั่นเอง

ในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้คุณมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น ถ้าสิ่งแวดล้อมของคุณสร้างอุปสรรคให้คุณมากเกินไป เช่น เวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการฝึกฝน คุณจะยอมแพ้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้มีแรงจูงใจในการฝึกจนลุล่วง

ส่วนในด้านอารมณ์และเหตุผลก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน คุณจะต้องหาเหตุผลให้ได้ว่าทำไมถึงอยากเชี่ยวชาญในทักษะนั้นๆ ซึ่งเหตุผลด้านอารมณ์ที่เป็นแรงผลักดันให้คุณทำสิ่งนั้นต่อไปอาจจะเป็นได้ทั้งทางด้านลบหรือด้านบวกก็ได้ อย่างเช่น ไมเคิล จอร์แดน ที่เคยถูกตัดออกจากทีมบาสเกตบอลตัวแทนเขต เหตุการณ์ครั้งนั้นได้กระตุ้นให้เขาฝึกฝนอย่างหนักเพื่อพัฒนาตนเอง หรือเวลาคุณได้รับคำชื่นชมจากอาจารย์หรือหัวหน้าเกี่ยวกับความสามารถของคุณ ก็ยิ่งช่วยผลักดันให้คุณทำงานหนักมากยิ่งขึ้นได้เช่นกันนั่นเอง

 

Source : Inc asean